DoctorNuke ยุคสังคมดิจิตัลเปลี่ยนผ่าน Artificial Intelligence (AI) talk , Website , Social and Programming Chat , SEO พูดคุยสนทนา … by DoctorNuke ( 1996)

Please or Register to create posts and topics.

AI กับข้อมูลแบบไทยๆในอนาคต น่าจะเพี้ยน 😊

เปิดบอร์ด โพสแรก ก็ว่ากันด้วยเรื่องที่น่าคิดเหมือนกัน 

ด้วยแนวโน้ม กระแสของบ้านเรา (ประเทศไทย) นั้น น่าจะเป็นปัญหาของการเก็บข้อมูลของ AI ในอนาคตเหมือนกัน อย่างที่หลายๆ developer มองเห็นตรงกันว่า ข้อมูลที่ AI จะจัดเก็บได้ ในของไทย ในอีกสัก 5 ปีข้างหน้าหรือเร็วกว่านั้นน่าจะมีปัญหา เรื่องอะไรบ้าง 

  1. Quality ของคอนเทนท์ สังเกตดูเราจะพบว่า การสร้างคอนเทนต์ ตอนนี้ เทียบกับของเก่าๆนี้ ต่างกันมาก แบบลิบลับ สมัยก่อน คนที่จะสามารถออกมาพูดในเรื่องที่ deep คือคนที่เชี่ยวชาญในสายงานนั้นๆจริงๆ เช่น วิศวกร แพทย์ หรือถ้าในแนวข่าวก็คือสื่อสารมวลชนจริงๆ แต่ 10 ปีที่ผ่านมา จนถึงการมาถึงของ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียพวก facebook , tiktok , youtube พบว่า ใครก็เป็นสื่อได้ และใครก็สามารถสร้างคอนเทนต์ได้ ไม่มีขอบคั่นของลิขสิทธิ์ , professional talk , in depth review อีกต่อไป เป็นปัญหาทั้ง ความตื้นของข้อมูล (Information Shallowness) และ การก๊อปปี้เนื้อหา (Content Copying)
  2. ความตื้นของข้อมูล (Information Shallowness):ของไทย ความตื้นของข้อมูลบนโซเชียลมีเดียหมายถึงการที่ผู้ใช้มักให้ความสำคัญกับความบันเทิงมากกว่าความรู้ โดยจะเน้น การแชร์ ตลก หรือความรุนแรง ภาษาแบบตลาดล่าง ซึ่งบางครั้งได้รับความนิยมมากกว่าการรีวิว (แบบลึกๆ ยืดยาว )คอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมมักเป็นเนื้อหาสั้น เช่น คลิปตลก มีม หรือเนื้อหาที่เน้นอารมณ์ มากกว่าความลึกซึ้ง ใครก็สร้างได้ บางทีก็ก๊อปมาโดยไม่ให้เครดิต

บริโภคข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน:
การแชร์ข่าวจากพาดหัวโดยไม่อ่านเนื้อหา หรือการเข้าใจข้อมูลเพียงบางส่วน
การแพร่กระจายข้อมูลผิด (Misinformation):
เช่น ข่าวปลอม การตีความผิด หรือข้อมูลที่ไม่มีแหล่งอ้างอิง

ผลกระทบ: การลดทอนการคิดวิเคราะห์ Critical Thinking โดยเฉพาะบางครั้งเป็นความรู้ที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ทางการแพทย์ : การบริโภคข้อมูลสั้นๆ หรือคลิปที่ไม่สมบูรณ์อาจทำให้ผู้คนขาดทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบคอบ
กระทบต่อคุณภาพของความรู้ การบริโภคข้อมูลตื้นทำให้ความรู้เชิงลึกในประเด็นต่างๆ ลดลง และส่วนใหญ่ ทำเพื่อการบันเทิง โดยนำมาซึ่ง user engagement รายได้ทั้งทางตรง ทางอ้อม 

3. การกีอปปี้ หรือลอกข้อมูล(Content Copying):
ในไทยเราจะเห็นกันจนชิน สมัยก่อน จะมีกฎหมายเกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์ เช่นเรื่องการก๊อปปี้ข้อมูลข่าว รูปภาพ ปัจจุบันการในยุคของการเปลี่ยนผ่านจากเว็บ มาเป็นแพลทฟอร์มโซเชียลมีเดีย ก๊อปปี้ทำได้แนบเนียนขึ้น โดยใช้ AI ไม่ว่าจะเป็นข่าว ภาพ วิดีโอ สามารถทำได้ง่าย และเป็นปัญหาที่พบเห็นได้ทั่วไปในโซเชียลมีเดีย ต่างๆ การคัดลอกแบ่งกว้างๆเป็นการคัดลอกแบบโดยไม่มีเครดิต เช่นนำคอนเทนต์ทั้งหมด เช่น บทความ รูปภาพ หรือวิดีโอ ไปเผยแพร่โดยไม่ให้เครดิตผู้สร้าง หรือนำมาแสดงบนจอเล็ก โดยผู้ก๊อปทำตนเป็นผู้เล่าและตัดเสียงออก(เล่นง่ายเลย) 
และการดัดแปลงเนื้อหาเล็กน้อย: การปรับเปลี่ยนข้อความเล็กน้อย แต่ยังคงไอเดียเดิมจากต้นฉบับ

ทำไมถึงต้องมีการก๊อป คำตอบคือ ทำง่าย มีผู้ทำแล้วสามารถสร้างรายได้ สามารถตั้งตนเป็นกูรูผู้รู้ได้
การสร้างรายได้จากคอนเทนต์ที่ลอกมา: เช่น การใช้คลิปที่ก๊อปมาจากผู้สร้างรายอื่นเพื่อเพิ่มยอดวิวในแพลตฟอร์มที่สร้างรายได้ เช่น TikTok หรือ YouTube
การนำคลิปไปโพสและเพิ่มยอดเอนเกจในเพจ เพื่อสร้างรายได้จากโฆษณา หรือขายสิ่งของ เช่น ก๊อปข้อมูลการลดน้ำหนัก มาหารายได้จากการขายของเพื่อลดน้ำหนัก

หนักไปกว่านั้น บางรายยังตั้งตนเป็นเจ้าของผลงานเสียเอง
ความเสียหายต่อผู้สร้างสรรค์เนื้อหา ครีเอเตอร์ไม่ได้รับผลตอบแทนที่สมควร หรือเสียโอกาสในเชิงธุรกิจ
ลดคุณค่าของความคิดสร้างสรรค์: การก๊อปปี้ทำให้ ครีเอเตอร์ ลดความพยายามที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ บางคนก็บ่นว่าทดท้อ เช่นในหลายๆเพจของเฟบุคเริ่มมีการลดการมองเห็นโดยการมองเห็นกลับไปปรากฎในคอนเทนต์ที่ก๊อปมาตัดต่อเนื้อหา แต่เพิ่มเอนเกจเม้นท์ บางคนก็เปลี่ยนจากครีเอเตอร์ มาก๊อปเองเลยเพื่อการอยู่รอด ..
การแพร่ข้อมูลซ้ำๆ การกระจายคอนเทนต์ซ้ำๆ ทำให้โซเชียลมีเดียเต็มไปด้วยข้อมูลที่ไม่มีความหลากหลายซ้ำไปซ้ำมา ยิ่งนานไป ความรู้จะยิ่งตื้นเขินขึ้น

4. แพลตฟอร์มสำคัญ และจะเป็นคนช่วยทำให้ดีขึ้น หรือแย่ลงได้ โลกเรา ณ.พศ.นี้ มาถึงยุคเปลี่ยนผ่านมา gen 4 แล้ว คือยุคที่มี social media เป็นตัวกลาง user generate content มี AI มาเป็นตัวช่วย

แนวโน้มในยุคใหม่ของโซเชียลมีเดียไทยก็เป็นในแนวเดียวกับชาวโลก อาจจะมากกว่าด้วย ในแง่ประชากรที่ใช้งานโซเชียลมีเดีย ปัญหาสำคัญคือ การใช้โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มบางอัน ที่มี อัลกอริธึม แบบที่เน้นการเอนเกจ ตัวอย่างที่เห็นๆกันคือ เฟจบุค Facebook ถ้าเพจนั้นเอนเกจเม้นท์ไม่ดี นานๆไปยิ่งลดการมองห็นลง เพจที่เคยมีเอนเกจ ก็อาจโดนลดการมองเห็นได้จากคอนเทนต์ ที่สำคัญก็คือ ณ.ปัจจุบัน ระบบของ Facebook, TikTok และ Instagram มักเลือกโปรโมตคอนเทนต์ที่ดึงดูดความสนใจ แต่ไม่ได้คัดกรองคุณภาพหรือความจริงของข้อมูล  ดังที่มีหลายๆเพจ สังเกตและคุยกันในกลุ่ม ว่าต่อไป คอนเทนต์แบบ Informative หรือให้ข้อมูล อาจทำยากขึ้น แต่คอนเทนต์แบบ live ขายของ หรือ reels แบบสั้นๆ น่าจะนำเด่น 

เคยคิดไหมครับ ถ้าคอนเท้นท์แบบนำเสนอข้อมูล In dept เจาะลึกหรือ informative ลดลง และเน้นพวก Live ขายของ หรือ reels สั้นๆ  , youtube , tiktok short contents. มากขึ้นๆ AI จะเป็นอย่างไร คำตอบคือข้อมูลทั้งหลายที่ดีๆ ก็จะเริ่มหายากขึ้น เนื่องจากคนไม่ค่อยทำ ข้อมูลยิ่งไม่ลึกซึ้ง AI ก็เก็บข้อมูลเหล่านั้น ผิดๆถูกๆ ไปให้คนในอนาคต... ความน่ากลัวคือ ยิ่ง Critical Thinking ไม่ค่อยมี แต่มี AI generate content ผิดให้ และเชื่อเป็นตุเป็นตะ  อันนี้หลายบ้านคงเคยเจอกันมา ...
แพลตฟอร์มคงต้องหันมาดูว่า ตนเอง ที่มี AI ของตนเอง  มีอะไรให้กับ user ที่ดีกว่านี้ ดีต่ออนาคตไหม

 

5. ทางออกแนวทางการจัดการ และแก้ไขปัญหา

ก่อนอื่นเลยต้องชื่นชม ขอบคุณ ทุกท่านที่ยังมีกำลังใจและหมั่นอัพเดตความรู้ ผ่านทางเว็บ เว็บบล็อก และโซเชียลมีเดีย จะเห็นว่า คอนเทนต์บางอันยังไปได้ดี มีคนแชร์มีการรับรู้ในวงกว้าง อาทิเช่น เว็บ standard , mainstand, เว็บข่าวต่างๆ ที่ยังยืนหยัด การรีวิวอย่างเข้มข้นในเว็บสายสาขาการแพทย์ ยังมีคนทำ ชื่นชมมากๆ

สำหรับปัจเจก การทำเนื้อหาให้ยั่งยืน เสมือนเป็น evergreen content จะยั่งยืนต่อไป เปรียบเสมือนปลูกต้นไม้ดีๆ 

สำหรับ user ทั่วไป คงต้องปลูกฝังความคิดวิเคราะห์ critical thinking ให้ เพราะในอนาคต คงยากที่จะบังคับทุกคนให้ทำเนื้อหาดีๆ ... อย่างที่กล่าวกันว่า ต่อให้ออกกฎมา ก็ยังคงมีคนแหก เพื่อผลประโยชน์อยู่ดี (ดูอย่างการโฆษณาทางการแพทย์สิ)

สำหรับแพลตฟอร์มต่างๆ คงยากเพราะแนวโน้มนี้ เป็นไปทั่วโลก
การพัฒนาเครื่องมือป้องกันการก๊อปปี้ การใช้ AI ตรวจจับเนื้อหาที่ซ้ำซ้อนและช่วยสนับสนุนผู้สร้างสรรค์ ขณะที่ลดคอนเทนต์ที่สร้างจาก AI (จะมี AI ไหนมากล้าทำไหม)
การให้ความสำคัญกับข้อมูลที่ลึกซึ้ง ลดข้อมูลตื้นเขินฉาบฉวย .. ยาก ตราบใดที่ยังไม่ตระหนัก  การปรับอัลกอริทึมเพื่อส่งเสริมคอนเทนต์ที่ให้ความรู้หรือมีคุณภาพสูง แทนที่ reels สั้น ข่าวความรุนแรง บันเทิง คงต้องรอจนกว่าข้อมูลที่ล่องลอยไปมามีแต่ข้อมูลก๊อปปี้

หลายๆคนคงทำคอนเทนต์เพื่อหาเงินหารายได้ อันนี้ว่ากันไม่ได้ แต่อย่างน้อย คอนเทนต์เหล่านั้น ถ้ากรองทิ้งไปไม่เอามาใช้เป็นการเรียนรู้ของ AI เช่น มีการปรับกรอง อัลกอริธึม ไม่ให้ใช้ content ที่ฉาบฉวย หรือลดการมองเห็นของคอนเทนต์ที่มีแต่โฆษณา แต่ไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพ เป็นต้น
สำหรับสังคมและรัฐบาล:
การให้ความรู้ด้านดิจิทัล (Digital Literacy) จัดโปรแกรมการศึกษาเพื่อช่วยให้ผู้คนแยกแยะข้อมูลจริง-ปลอม และส่งเสริมการสร้างเนื้อหาที่สร้างสรรค์
การบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์อย่างจริงจัง เช่น การป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ในโลกออนไลน์